วันจันทร์ที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

เครือข่ายคอมพิวเตอร์


1. เครือข่ายคอมพิวเตอร์
    1.1 ความหมายขององค์ประกอบของเครือข่ายคอมพิวเตอร์
          เครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Computer net-work) หมายถึง การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วงเข้าด้วยกันโดยใช้สื่อกลางต่างๆ เช่น สายสัญญาณ คลื่นวิทยุ เป็นต้น เพื่อทำให้สามารถสื่อสาร และเปลี่ยนข้อมูล และใช้ทรัพยากรร่วมกันได้ เช่น ฮาร์ดดิสก์ เครื่องพิมพ์ อุปกรณ์ที่มีราคาแพง เป็นต้น ซื้อเป็นการช่วยลดค่าใช้จ่ายขององค์กร
          เครือข่ายคอมพิวเตอร์ แบ่งออกเป็น 6 ประเภท
          ♥ เครือข่ายเฉพาะที่ หรือแลน 
          ♥ เครืข่ายนครหลวง หรือแมน
          ♥ เครือข่ายบริเวณกว้าง หรือแวน
          ♥ เครือข่ายภายในองค์กร หรืออินทราเน็ต
          ♥ เครือข่ายภายนอกองค์กร หรือเอ็กทราเน็ต
          ♥ เครือข่ายอินเทอร์เน็ต 

เครือข่ายคอมพิวเตอร์มีองค์ประกอบพื้นฐาน 2 ส่วนหลักคือ 

- องค์ประกอบด้านฮาร์ดแวร์ หมายถึง อุปกรณ์ที่ใช้งานและเชื่อมต่อภายในเครือข่าย
- องค์ประกอบด้านซอฟต์แวร์ หมายถึง ระบบปฏิบัติการ หรือโปรแกรมต่างๆที่ใช้สนับสนุนการทำงานและให้บริการด้านต่างๆเพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ใช้ให้สามารถติดต่อสื่อสารผ่านเครือข่ายได้

    1.2 การเลือกใช้ฮาร์ดแวร์ของระบบเครือข่ายขนาดเล็ก
          1. อุปกรณ์ในระบบเครือข่ายขนาดเล็ก
              1.1 การ์ดแลน (LAN card)
           เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่รับส่งข้อมูลจากคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งไปสู่คอมพิวเตอร์อีกเครื่องนึงโดยผ่านสายแลน
        1.2 ฮับ (Hub) 
                    เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เหมือนชุมทางข้อมูล มีหน้าที่เป็นตัวกลางคอยส่งข้อมูลให้คอมพิวเตอร์ในเครือข่าย ข้อมูลจากคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งที่ส่งผ่านฮับจะกระจายข้อมูลไปยังคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่ต่ออยู่กับฮับ ซึ่งแต่ละเครื่องจะเลือกรับเฉพาะข้อมูลที่ส่งมาถึงตนเองเท่านั้น
              1.3 สวิตช์(switch) 
                     เป็นอุปกรณ์รวมสัญญาณเช่นเดียวกับฮับ แต่แตกต่างจากฮับคือ การรับส่งข้อมูลจากคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งนั้นจะไม่กระจายไปยังทุกเครื่อง เนื่องจากสวิตช์จะรับข้อมูลมาครวจสอบก่อนว่าเป็นข้อมูลของเครื่องใดแล้วจึงนำข้อมูลนั้นๆส่งไปยังเครื่องปลายทางได้อย่างอัตโนมัติ
               1.4 โมเด็ม(modem) 
                      เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่แปลงสัญญาณเพื่อให้สามารถส่งผ่านสายโทรศัพท์ (Telephone line) หรือสายใยแก้วนำแสง(Fiber optic cable) ได้ สามารถทำให้ส่งสัญญาณได้ไกล
               1.5 อุปกรณ์จัดเส้นทางหรือเราเตอร์(Router) 
                      เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการเชื่อมโยงเครือข่ายหลายเครือข่ายเข้าด้วยกัน การส่งข้อมูลถึงกันจึงมีเส้นทางหลายเส้นทาง เราเตอร์ทำหน้าที่เลือกเส้นทางที่เหมาะสมที่สุดในการส่งผ่านข้อมูล เพื่อให้การส่งข้อมูลเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยลดความล้มเหลวในการส่งข้อมูล
               1.6 สายสัญญาณ (cable) 
                      เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เป็นสื่อกลางในการรับส่งข้อมูลมีหลายแบบไม่ว่าจะเป็นสายโคแอกซ์ (coaxial cable)  สายตีเกลียวคู่แบบไม่ป้องกันสัญญาณรบกวน (Unshielded Twisted Pair :UTP) สายตีเกลียวคู่แบบป้องกันสัญญาณรบกวน (Shielded Twisted Pair :STP) และสายใยแก้วนำแสง (fiber optic cable)

          2. การเชื่อมต่อระบบเครือข่ายขนาดเล็ก

               2.1 การเชื่อมต่อเครือข่ายระยะใกล้ หากมีคอมพิวเตอร์ในระบบเครือข่ายไม่เกินสองเครื่อง อุปกรณ์ในระบบเครือข่ายนอกจากคอมพิวเตอร์แล้ว ยังต้องมีการ์ดแลนและสายสัญญาณโดยไม่ต้องใช้ฮับและสวิตช์ เพราะมีคอมพิวเตอร์แค่สองเครื่องก็สามารถเชื่อมต่อให้เป็นวงแลนได้โดยใช้สายไขว้(cross line)
              2.2การเชื่อมต่อเครือข่ายระยะไกล
              แบบที่ 1 ต้องติดตั้งเครื่องทวนสัญญาณ(repeater) ไว้ทุกระยะ 100 เมตร
              แบบที่ 2 คือ ใช้โมเด็มหมุนโทรศัพท์เข้าหากันเมื่อต้องการเชื่อมต่อและเมื่อเสร็จสิ้นธุรกิจแล้วก็ยกเลิกการเชื่อมต่อ แต่ความเร็วที่ได้จะได้แค่เพียงความสามารถของสายโทรศัพท์
              แบบที่ 3 ถือว่าเป็นเทคโนโลยีระบบเครือข่ายที่มีประสิธิภาพที่ดีที่สุดในปัจจุบันสายสัญญาณที่เลือกใช้คือ สายใยแก้วนำแสง ซึ่งสามารถส่งข้อมูลได้ระยะทางไกลและมีความเร็วสูง รวมไปถึงความปลอดภัยของข้อมูลด้วย
              แบบที่ 4 คือใช้จุดเชื่อมต่อแบบไร้สาย(Wireless lan) เป็นการเชื่อมต่อโดยใช้สัญญาณวิทยุทางกาศแทนการใช้สายโทรศพท์เพื่อลดปัญหาจากการใช้สายสัญญาณ เหมาะสำรับติดตั้งในพื้นที่ที่มีขนาดจำกัด
              แบบที่ 5 คือเทคโนโลยี G.SHDSL ซึ่งเป็นหนึ่งในเทคโนโลยีตะกูล DSL (Digital subscriber line) เป็นเทคโนโลยีโมเด็มที่ทำให้คู่สายทองแดงธรรมดากลายเป็นสื่อสัญญาณดิจิทัลความเร็วสูง โดยใช้เทคนิคการเข้ารหัสสัญญาณข้อมูล
             แบบที่ 6  คือ เทคโนโลยีแบบ Ethernet over VDSL เป็นเทคโนโลยีระบบเครือข่ายแบบล่าสุดที่สามารถตะติดตั้งใช้งานได้เอง จึงทำให้มีต้นทุนต่ำ

                1.3 การเลือกใช้ซอฟแวร์ของระบบเครือข่ายขนาดเล็ก
           1.ระบบปฏิบัติการลินุกซ์ เซ็นต์โอเอส (linux community enterprise operating system)  นิยมเรียกย่อว่า centOS ซึ่งช่วยประหยัดงบประมาณขององค์กร เนื่องจาก CentOS เป็นซอฟแวร์เปิดเผยโค้ด (open source software) ผู้ใช้สามารถดาวน์โหลดโค้ดไปใช้งาน หรือแก้ไขได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ เพียงแต่ผู้ดูแลระบบต้องเรียนรู้ระบบก่อนการใช้งานซึ่งในปัจจุบันสามารถเรียนรู้ผ่านทางเว็บไซต์ต่างๆ
           2.ระบบปฏิบัติการวินโดวส์ เซิร์ฟเวอร์ (windows server)
ปัจจุบันถูกพัฒนามาเป็น Windows server 2008 ซึ่งออกแบบมาเพื่อสนับสนุนระบบเครือข่าย แอพพลิเคชั่น และบริการอื่นๆที่มีความสมัยบนเว็บไซต์ สามารถพัฒนาให้บริการและจัดการกับแอพพลิเคชั่นต่างๆที่เสริมสร้างส่วนติดต่อผู้ใช้ (User interface : UI) เพื่อเพิ่มสมรรถภาพการใช้งานสูงสุดนอกจากนั้นยังมีระบบโครงสร้างพื้นฐานเครือข่ายที่มีความปลอดภัยสูงและช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและมูลค่าด้านเทคโนโลยีให้กับองค์กร

2. อินเทอร์เน็ต
         2.1 ความหมายและพัฒนาการของอินเทอร์เน็ต                 
             อินเทอร์เน็ต (internet) หมายถึง การใช้ประโยชน์ของระบบเครือข่ายที่นำเครื่องคอมพิวเตอร์หลายๆเครื่องมาเชื่อมต่อกันโดยผ่านสื่อกลางชนิดใดชนิดหนึ่ง โดยมีมาตรฐานการรับส่งข้อมูลระหว่างกันแบบเดียวกัน

         2.2 บริการบนอินเทอร์เน็ต             
               กล่าวคือ ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทั่วโลกสามารถเข้าถึงข้อมูลได้อย่างไม่จำกัดสถานที่และเวลา ดังนั้นจึงมีการนำอินเทอร์เน็ตไปประยุกต์ใช้วานหลากหลายประเภท เช่น       
               1. ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ หรืออีเมล  เป็นบริการที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก ผู้ใช้สามารถส่งข้อความเพื่อติดต่อแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารกับบุคคลอื่นๆที่ใช้บริการนี้บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้             
               2.เมลลิงลิสต์  การใช้งานจะเป็นลักษณะของการสมัครเป็นสมาชิกของกลุ่มโดยใช้อีเมลแอดเดรสเป็นสื่อติดต่อและรับข่าวสารต่างๆจากกลุ่ม            
               3.การสื่อสารในเวลาจริง   เป็นการสื่อสารกันที่สามารถโต้ตอบกลับได้ทันทีผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เช่น แชท ห้องคุย   
               4. เว็บไซต์เครือข่ายทางสังคม  เป็นชุมชนออนไลน์ที่กลุ่มคนรวมกันเป็นสังคม มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกัน มีกานทำกิจกรรมร่วมกัน
              5.บล็อก   เป็นเว็บไซต์ที่ใช้เขียนบันทึกเรื่องราว เพื่อสื่อสารความรู้สึก มุมมอง ประสบการณ์ โดยจะแสดงข้อความที่เขียนล่าสุดไว้บนเว็บไซต์
              6. วิกิ   เป็นรูปแบบการเผยแพร่ข้อมูลที่บุคคลต่างๆ โดยข้อมูลที่เผยแพร่นั้นจะเป็นประโยชน์ต่อบุคคลทั่วไป           
              7. บริการเข้าใช้ระบบคอมพิวเตอร์ระยะไกล  ในบริการนี้ผู้ใช้จะต้องได้รับอนุญาตจากผู้ดูแลเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ต้องการเข้าไปใช้งานก่อน
              8. การโอนย้ายข้อมูล   เป็นการถ่ายโอนแฟ้มข้อมูลจากคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งไปยังคอมพิวเตอร์อีกเครื่องหนึ่ง  มีการทำงาน 2 ลักษณะ คือ get และ put
              9.บริการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร หรือยูสเน็ต  มีลักษณะเป็นกลุ่มสนทนา เพื่อแลกเปลี่ยนข่าวสารกันบนอินเทอร์เน็ตเพื่อให้ผู้คนได้แสดงความคิดเห็น             
               10. เวิลด์ไวด์เว็บ เป็นการทำธุรกรรมซื้อขายสินค้าและบริการบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

2.3 คุณธรรมและจริยธรรมในการใช้อินเทอร์เน็ต        
            1. จรรยาบรรณในการใช้อินเทอร์เน็ต             
             1.1 จรรยาบรรณสำหรับผู้ใช้ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์
              มีข้อควรประพฤติ ดังนี้
              -ตรวจสอบกล่องไปรษณีย์ทุกครั้ง
              -ลบข้อความหรือจดหมายที่ไม่ต้องการทิ้ง
              -การโอนย้ายจดหมาย
              -พึ่งระลึกไว้เสมอว่าไม่ควรเก็บข้อมูลไว้ในตู้จดหมาย
              -ไม่ควรส่งจดหมายกระจายไปยังผู้รับจำนวนมาก

              1.2 จรรยาบรรณสำหรับผู้สนทนาผ่านเครือข่าย
              มีข้อควรประพฤติ ดังนี้
              -ควรสนทนากับผู้ที่รู้จักและต้องการสนทนาด้วยเท่านั้น
              -ควรตรวจสอบสถานะของคู่สนทนาก่อน
              -หากผู้ที่สนทนาไม่ตอบกลับแสดงว่าติดธุระอยู่ ควรปิดการสนทนา
              -ควรใช้วาจาที่สุภาพ

              1.3 จรรยาบรรณสำหรับผู้ใช้กระดานข่าวหรือกระดานสนทนา
              มีข้อควรประพฤติ ดังนี้
              -เขียนเรื่องให้กระชับ
              -ไม่ควรเขียนข้อความพาดพิงถึงสถาบันของชาติ
              -ให้ความสำคัญในเรื่องลิขสิทธิ์
              -ไม่ควรสร้างข้อความเท็จ
              -ไม่ควรใช้เครือข่ายส่วนรวมเพื่อประโยชน์ส่วนตน

         2. บัญญัติ 10 ประการในการใช้งานคอมพิวเตอร์ 
             มีดังนี้
              -ไม่ใช้คอมพิวเตอร์ทำร้ายหรือละเมิดผู้อื่น
              -ไม่ใช้คอมพิวเตอร์รบกวนการทำงานของผู้อื่น
              -ไม่เปิดดูข้อมูลในแฟ้มของผู้อื่น
              -ไม่ใช้คอมพิวเตอร์ทำการโจรกรรม
              -ไม่ใช้คอมพิวเตอร์สร้างหลักฐานที่เป็นเท็จ
              -ไม่คัดลอกโปรแกรมของผู้อื่น
              -ไม่ละเมิดการใช้ทรัพยากรของคอมพิวเตอร์
              -ไม่นำเอาผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตนเอง
              -คำนึงถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นกับสังคม
              -ต้องใช้คอมพิวเตอร์โดยเคารพกฎ ระเบียบ กติกา และมารยาทของสังคม


ที่มา: หนังสือ เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ม.5

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น