วันจันทร์ที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ตอบคำถามประจำหน่วยการเรียนรู้

♥ นักเรียนมีหลักปฏิบัติในการใช้อินเทอร์เน็ตอย่างไรให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ตนเอง และไม่ให้เกิดผลกระทบต่อผู้อื่นและสังคม

- ใช้ในการค้นคว้าหาข้อมูลและความรู้ในการเรียนที่เกิดประโยชน์แก่ตนเอง ใช้ในการติดต่อสื่อสารกับบุคลอื่นทั่วโลก ใช้ในการรับส่งข้อมูลที่ง่ายและสะดวกรวดเร็ว
และการสื่อสารกับผู้อื่นผ่านอินเทอร์เน็ต หรือการพิมสร้างกระทู้ สร้างกระดานข้อความ แสดงความคิดเห็น ต้องใช้ถ้อยคำที่สุภาพและให้เกียรติผู้อื่น ไม่ควรเขียนข้อความที่พาดพิงถึงสถาบันของชาติในทางที่ไม่สมควร หรือข้อความที่ละเมิดสิทธิ ไม่แสดงข้อความกล่าวหาผู้อื่นในทางเสียหาย ไม่โพสต์ภาพลามกอนาจาร หรือสิ่งผิดกฏหมายต่างๆ
ไม่ใช้อินเตอร์ในการโจรกรรมข้อมูลข่าวสาร เช่น การเจาะระบบข้อมูลสำคัญของบริษัท
ไม่ก่อกวน หรือสร้างความรำคาญใจให้แก่บุคคลอื่น เช่นการไม่ส่งจดหมายลูกโซ่ หรือส่งจดหมายจำนวนมาก ต้องใช้อินเทอร์เน็ตโดยเคารพกฎ ระเบียบ กติกา และมารยาทของสังคม และควรคำนึงถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นกับสังคมอันเป็นผลมาจากการกระทำของตนเอง

วันจันทร์ที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

เครือข่ายคอมพิวเตอร์


1. เครือข่ายคอมพิวเตอร์
    1.1 ความหมายขององค์ประกอบของเครือข่ายคอมพิวเตอร์
          เครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Computer net-work) หมายถึง การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วงเข้าด้วยกันโดยใช้สื่อกลางต่างๆ เช่น สายสัญญาณ คลื่นวิทยุ เป็นต้น เพื่อทำให้สามารถสื่อสาร และเปลี่ยนข้อมูล และใช้ทรัพยากรร่วมกันได้ เช่น ฮาร์ดดิสก์ เครื่องพิมพ์ อุปกรณ์ที่มีราคาแพง เป็นต้น ซื้อเป็นการช่วยลดค่าใช้จ่ายขององค์กร
          เครือข่ายคอมพิวเตอร์ แบ่งออกเป็น 6 ประเภท
          ♥ เครือข่ายเฉพาะที่ หรือแลน 
          ♥ เครืข่ายนครหลวง หรือแมน
          ♥ เครือข่ายบริเวณกว้าง หรือแวน
          ♥ เครือข่ายภายในองค์กร หรืออินทราเน็ต
          ♥ เครือข่ายภายนอกองค์กร หรือเอ็กทราเน็ต
          ♥ เครือข่ายอินเทอร์เน็ต 

เครือข่ายคอมพิวเตอร์มีองค์ประกอบพื้นฐาน 2 ส่วนหลักคือ 

- องค์ประกอบด้านฮาร์ดแวร์ หมายถึง อุปกรณ์ที่ใช้งานและเชื่อมต่อภายในเครือข่าย
- องค์ประกอบด้านซอฟต์แวร์ หมายถึง ระบบปฏิบัติการ หรือโปรแกรมต่างๆที่ใช้สนับสนุนการทำงานและให้บริการด้านต่างๆเพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ใช้ให้สามารถติดต่อสื่อสารผ่านเครือข่ายได้

    1.2 การเลือกใช้ฮาร์ดแวร์ของระบบเครือข่ายขนาดเล็ก
          1. อุปกรณ์ในระบบเครือข่ายขนาดเล็ก
              1.1 การ์ดแลน (LAN card)
           เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่รับส่งข้อมูลจากคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งไปสู่คอมพิวเตอร์อีกเครื่องนึงโดยผ่านสายแลน
        1.2 ฮับ (Hub) 
                    เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เหมือนชุมทางข้อมูล มีหน้าที่เป็นตัวกลางคอยส่งข้อมูลให้คอมพิวเตอร์ในเครือข่าย ข้อมูลจากคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งที่ส่งผ่านฮับจะกระจายข้อมูลไปยังคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่ต่ออยู่กับฮับ ซึ่งแต่ละเครื่องจะเลือกรับเฉพาะข้อมูลที่ส่งมาถึงตนเองเท่านั้น
              1.3 สวิตช์(switch) 
                     เป็นอุปกรณ์รวมสัญญาณเช่นเดียวกับฮับ แต่แตกต่างจากฮับคือ การรับส่งข้อมูลจากคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งนั้นจะไม่กระจายไปยังทุกเครื่อง เนื่องจากสวิตช์จะรับข้อมูลมาครวจสอบก่อนว่าเป็นข้อมูลของเครื่องใดแล้วจึงนำข้อมูลนั้นๆส่งไปยังเครื่องปลายทางได้อย่างอัตโนมัติ
               1.4 โมเด็ม(modem) 
                      เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่แปลงสัญญาณเพื่อให้สามารถส่งผ่านสายโทรศัพท์ (Telephone line) หรือสายใยแก้วนำแสง(Fiber optic cable) ได้ สามารถทำให้ส่งสัญญาณได้ไกล
               1.5 อุปกรณ์จัดเส้นทางหรือเราเตอร์(Router) 
                      เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการเชื่อมโยงเครือข่ายหลายเครือข่ายเข้าด้วยกัน การส่งข้อมูลถึงกันจึงมีเส้นทางหลายเส้นทาง เราเตอร์ทำหน้าที่เลือกเส้นทางที่เหมาะสมที่สุดในการส่งผ่านข้อมูล เพื่อให้การส่งข้อมูลเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยลดความล้มเหลวในการส่งข้อมูล
               1.6 สายสัญญาณ (cable) 
                      เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เป็นสื่อกลางในการรับส่งข้อมูลมีหลายแบบไม่ว่าจะเป็นสายโคแอกซ์ (coaxial cable)  สายตีเกลียวคู่แบบไม่ป้องกันสัญญาณรบกวน (Unshielded Twisted Pair :UTP) สายตีเกลียวคู่แบบป้องกันสัญญาณรบกวน (Shielded Twisted Pair :STP) และสายใยแก้วนำแสง (fiber optic cable)

          2. การเชื่อมต่อระบบเครือข่ายขนาดเล็ก

               2.1 การเชื่อมต่อเครือข่ายระยะใกล้ หากมีคอมพิวเตอร์ในระบบเครือข่ายไม่เกินสองเครื่อง อุปกรณ์ในระบบเครือข่ายนอกจากคอมพิวเตอร์แล้ว ยังต้องมีการ์ดแลนและสายสัญญาณโดยไม่ต้องใช้ฮับและสวิตช์ เพราะมีคอมพิวเตอร์แค่สองเครื่องก็สามารถเชื่อมต่อให้เป็นวงแลนได้โดยใช้สายไขว้(cross line)
              2.2การเชื่อมต่อเครือข่ายระยะไกล
              แบบที่ 1 ต้องติดตั้งเครื่องทวนสัญญาณ(repeater) ไว้ทุกระยะ 100 เมตร
              แบบที่ 2 คือ ใช้โมเด็มหมุนโทรศัพท์เข้าหากันเมื่อต้องการเชื่อมต่อและเมื่อเสร็จสิ้นธุรกิจแล้วก็ยกเลิกการเชื่อมต่อ แต่ความเร็วที่ได้จะได้แค่เพียงความสามารถของสายโทรศัพท์
              แบบที่ 3 ถือว่าเป็นเทคโนโลยีระบบเครือข่ายที่มีประสิธิภาพที่ดีที่สุดในปัจจุบันสายสัญญาณที่เลือกใช้คือ สายใยแก้วนำแสง ซึ่งสามารถส่งข้อมูลได้ระยะทางไกลและมีความเร็วสูง รวมไปถึงความปลอดภัยของข้อมูลด้วย
              แบบที่ 4 คือใช้จุดเชื่อมต่อแบบไร้สาย(Wireless lan) เป็นการเชื่อมต่อโดยใช้สัญญาณวิทยุทางกาศแทนการใช้สายโทรศพท์เพื่อลดปัญหาจากการใช้สายสัญญาณ เหมาะสำรับติดตั้งในพื้นที่ที่มีขนาดจำกัด
              แบบที่ 5 คือเทคโนโลยี G.SHDSL ซึ่งเป็นหนึ่งในเทคโนโลยีตะกูล DSL (Digital subscriber line) เป็นเทคโนโลยีโมเด็มที่ทำให้คู่สายทองแดงธรรมดากลายเป็นสื่อสัญญาณดิจิทัลความเร็วสูง โดยใช้เทคนิคการเข้ารหัสสัญญาณข้อมูล
             แบบที่ 6  คือ เทคโนโลยีแบบ Ethernet over VDSL เป็นเทคโนโลยีระบบเครือข่ายแบบล่าสุดที่สามารถตะติดตั้งใช้งานได้เอง จึงทำให้มีต้นทุนต่ำ

                1.3 การเลือกใช้ซอฟแวร์ของระบบเครือข่ายขนาดเล็ก
           1.ระบบปฏิบัติการลินุกซ์ เซ็นต์โอเอส (linux community enterprise operating system)  นิยมเรียกย่อว่า centOS ซึ่งช่วยประหยัดงบประมาณขององค์กร เนื่องจาก CentOS เป็นซอฟแวร์เปิดเผยโค้ด (open source software) ผู้ใช้สามารถดาวน์โหลดโค้ดไปใช้งาน หรือแก้ไขได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ เพียงแต่ผู้ดูแลระบบต้องเรียนรู้ระบบก่อนการใช้งานซึ่งในปัจจุบันสามารถเรียนรู้ผ่านทางเว็บไซต์ต่างๆ
           2.ระบบปฏิบัติการวินโดวส์ เซิร์ฟเวอร์ (windows server)
ปัจจุบันถูกพัฒนามาเป็น Windows server 2008 ซึ่งออกแบบมาเพื่อสนับสนุนระบบเครือข่าย แอพพลิเคชั่น และบริการอื่นๆที่มีความสมัยบนเว็บไซต์ สามารถพัฒนาให้บริการและจัดการกับแอพพลิเคชั่นต่างๆที่เสริมสร้างส่วนติดต่อผู้ใช้ (User interface : UI) เพื่อเพิ่มสมรรถภาพการใช้งานสูงสุดนอกจากนั้นยังมีระบบโครงสร้างพื้นฐานเครือข่ายที่มีความปลอดภัยสูงและช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและมูลค่าด้านเทคโนโลยีให้กับองค์กร

2. อินเทอร์เน็ต
         2.1 ความหมายและพัฒนาการของอินเทอร์เน็ต                 
             อินเทอร์เน็ต (internet) หมายถึง การใช้ประโยชน์ของระบบเครือข่ายที่นำเครื่องคอมพิวเตอร์หลายๆเครื่องมาเชื่อมต่อกันโดยผ่านสื่อกลางชนิดใดชนิดหนึ่ง โดยมีมาตรฐานการรับส่งข้อมูลระหว่างกันแบบเดียวกัน

         2.2 บริการบนอินเทอร์เน็ต             
               กล่าวคือ ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทั่วโลกสามารถเข้าถึงข้อมูลได้อย่างไม่จำกัดสถานที่และเวลา ดังนั้นจึงมีการนำอินเทอร์เน็ตไปประยุกต์ใช้วานหลากหลายประเภท เช่น       
               1. ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ หรืออีเมล  เป็นบริการที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก ผู้ใช้สามารถส่งข้อความเพื่อติดต่อแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารกับบุคคลอื่นๆที่ใช้บริการนี้บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้             
               2.เมลลิงลิสต์  การใช้งานจะเป็นลักษณะของการสมัครเป็นสมาชิกของกลุ่มโดยใช้อีเมลแอดเดรสเป็นสื่อติดต่อและรับข่าวสารต่างๆจากกลุ่ม            
               3.การสื่อสารในเวลาจริง   เป็นการสื่อสารกันที่สามารถโต้ตอบกลับได้ทันทีผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เช่น แชท ห้องคุย   
               4. เว็บไซต์เครือข่ายทางสังคม  เป็นชุมชนออนไลน์ที่กลุ่มคนรวมกันเป็นสังคม มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกัน มีกานทำกิจกรรมร่วมกัน
              5.บล็อก   เป็นเว็บไซต์ที่ใช้เขียนบันทึกเรื่องราว เพื่อสื่อสารความรู้สึก มุมมอง ประสบการณ์ โดยจะแสดงข้อความที่เขียนล่าสุดไว้บนเว็บไซต์
              6. วิกิ   เป็นรูปแบบการเผยแพร่ข้อมูลที่บุคคลต่างๆ โดยข้อมูลที่เผยแพร่นั้นจะเป็นประโยชน์ต่อบุคคลทั่วไป           
              7. บริการเข้าใช้ระบบคอมพิวเตอร์ระยะไกล  ในบริการนี้ผู้ใช้จะต้องได้รับอนุญาตจากผู้ดูแลเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ต้องการเข้าไปใช้งานก่อน
              8. การโอนย้ายข้อมูล   เป็นการถ่ายโอนแฟ้มข้อมูลจากคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งไปยังคอมพิวเตอร์อีกเครื่องหนึ่ง  มีการทำงาน 2 ลักษณะ คือ get และ put
              9.บริการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร หรือยูสเน็ต  มีลักษณะเป็นกลุ่มสนทนา เพื่อแลกเปลี่ยนข่าวสารกันบนอินเทอร์เน็ตเพื่อให้ผู้คนได้แสดงความคิดเห็น             
               10. เวิลด์ไวด์เว็บ เป็นการทำธุรกรรมซื้อขายสินค้าและบริการบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

2.3 คุณธรรมและจริยธรรมในการใช้อินเทอร์เน็ต        
            1. จรรยาบรรณในการใช้อินเทอร์เน็ต             
             1.1 จรรยาบรรณสำหรับผู้ใช้ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์
              มีข้อควรประพฤติ ดังนี้
              -ตรวจสอบกล่องไปรษณีย์ทุกครั้ง
              -ลบข้อความหรือจดหมายที่ไม่ต้องการทิ้ง
              -การโอนย้ายจดหมาย
              -พึ่งระลึกไว้เสมอว่าไม่ควรเก็บข้อมูลไว้ในตู้จดหมาย
              -ไม่ควรส่งจดหมายกระจายไปยังผู้รับจำนวนมาก

              1.2 จรรยาบรรณสำหรับผู้สนทนาผ่านเครือข่าย
              มีข้อควรประพฤติ ดังนี้
              -ควรสนทนากับผู้ที่รู้จักและต้องการสนทนาด้วยเท่านั้น
              -ควรตรวจสอบสถานะของคู่สนทนาก่อน
              -หากผู้ที่สนทนาไม่ตอบกลับแสดงว่าติดธุระอยู่ ควรปิดการสนทนา
              -ควรใช้วาจาที่สุภาพ

              1.3 จรรยาบรรณสำหรับผู้ใช้กระดานข่าวหรือกระดานสนทนา
              มีข้อควรประพฤติ ดังนี้
              -เขียนเรื่องให้กระชับ
              -ไม่ควรเขียนข้อความพาดพิงถึงสถาบันของชาติ
              -ให้ความสำคัญในเรื่องลิขสิทธิ์
              -ไม่ควรสร้างข้อความเท็จ
              -ไม่ควรใช้เครือข่ายส่วนรวมเพื่อประโยชน์ส่วนตน

         2. บัญญัติ 10 ประการในการใช้งานคอมพิวเตอร์ 
             มีดังนี้
              -ไม่ใช้คอมพิวเตอร์ทำร้ายหรือละเมิดผู้อื่น
              -ไม่ใช้คอมพิวเตอร์รบกวนการทำงานของผู้อื่น
              -ไม่เปิดดูข้อมูลในแฟ้มของผู้อื่น
              -ไม่ใช้คอมพิวเตอร์ทำการโจรกรรม
              -ไม่ใช้คอมพิวเตอร์สร้างหลักฐานที่เป็นเท็จ
              -ไม่คัดลอกโปรแกรมของผู้อื่น
              -ไม่ละเมิดการใช้ทรัพยากรของคอมพิวเตอร์
              -ไม่นำเอาผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตนเอง
              -คำนึงถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นกับสังคม
              -ต้องใช้คอมพิวเตอร์โดยเคารพกฎ ระเบียบ กติกา และมารยาทของสังคม


ที่มา: หนังสือ เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ม.5

วันอาทิตย์ที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2556

ระบบสารสนเทศและเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการตัดสินใจ


1. ระบบสารสนเทศ
    ระบบสารสนเทศ (Information System) หมายถึง ระบบที่สามารถจัดการข้อมูลตั้งแต่การรวบรวมและตรวจสอบข้อมูล การประมวลผลข้อมูล รวมถึงการดูแลรักษาข้อมูล เพื่อให้ได้สารสนเทศที่ถูกต้องและทันต่อความต้องการใช้ของผู้ใช้ และผู้ใช้สามารถนำสารสนเทศที่ได้ไปประกอบการตัดสินใจอย่างมีประสิทธิภาพ



    1.1 องค์ประกอบของระบบสารสนเทศ
         องค์ประกอบของระบบสารสนเทศที่สำคัญมี 5 องค์ประกอบดังนี้
       


         1. ฮาร์ดแวร์ (Hardware) 
            ฮาร์ดแวร์เป็นองค์ประกอบสำคัญของระบบสารสนเทศ หมายถึง เครื่องคอมพิวเตอร์อุปกรณ์รอบข้าง รวมทั้งอุปกรณ์สื่อสารสำหรับเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์เข้าเป็นเครือข่าย เช่น เครื่องพิมพ์ เครื่องกราดตรวจเมื่อพิจารณาเครื่องคอมพิวเตอร์ สามารถแบ่งเป็น 3 หน่วย คือ
     ♥ หน่วยรับข้อมูล (input unit) ได้แก่ แผงแป้นอักขระ เมาส์
     ♥ หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit : CPU)
     ♥ หน่วยแสดงผล (output unit) ได้แก่ จอภาพ เครื่องพิมพ์

         2. ซอฟต์แวร์ (Software)
          ซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์เป็นองค์ประกอบที่สำคัญประการที่สอง ซึ่งก็คือลำดับขั้นตอนของคำสั่งที่จะสั่งงานให้ฮาร์ดแวร์ทำงาน เพื่อประมวลผลข้อมูลให้ได้ผลลัพธ์ตามความต้องการของการใช้งาน แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้
           1.ซอฟต์แวร์ระบบ (system software) ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วงต่างๆ เช่น รับข้อมูลจากแป้นพิมพ์ ประมวลผลข้อมูล แสดงผลทางจอภาพ เป็นต้น ซึ่งซอฟต์แวร์ระบบแบ่งออกเป็นระบบปฏิบัติการ โปรแกรมแปลภาษาและโปรแกรมอรรถประโยชน์
          2.ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (application software) เป็นโปรแกรมที่เขียนขึ้นเพื่อให้คอมพิวเตอร์ทำงานเฉพาะเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เช่น ซอฟต์แวร์ประมวลผลคำ ซอฟต์แวร์ตารางงาน ซอฟต์แวร์ด้านกราฟิก เป็นต้น

         3. ข้อมูล (Data)
             ข้อมูลเป็นองค์ประกอบที่สำคัญอีกประการหนึ่งของระบบสารสนเทศ อาจจะเป็นตัวชี้ความสำเร็จหรือความล้มเหลวของระบบได้ เนื่องจากจะต้องมีการเก็บข้อมูลจากแหล่งกำเนิด ข้อมูลจะต้องมีความถูกต้อง มีการกลั่นกรองและตรวจสอบแล้วเท่านั้นจึงจะมีประโยชน์ ข้อมูลจำเป็นจะต้องมีมาตรฐาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อใช้งานในระดับกลุ่มหรือระดับองค์กร ข้อมูลต้องมีโครงสร้างในการจัดเก็บที่เป็นระบบระเบียบเพื่อการสืบค้นที่รวดเร็วมีประสิทธิภาพ ข้อมูลที่ดีซึ่งเหมาะแก่การนำไปใช้งานจะต้องมีคุณสมบัติดังนี้
     ♥ ถูกต้องและสมเหตุสมผล
     ♥ ทันสมัย
     ♥ สมบูรณ์
     ♥ สอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้
     ♥ สามารถพิสูจน์ได้

         4. บุคลากร (People)
             บุคลากร คือผู้ที่เกี่ยวข้องกับระบบสารสนเทศตั้งแต่การพัฒนาระบบจนกระทั่งการใช้งานและการบำรุงรักษา ซึ่งบุคลากรเป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดในระบบสารสนเทศ ต้องมีความรู้ความสามรถในการใช้ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ และปฏิบัติตามขั้นตอนที่ถูกต้อง เพื่อให้ได้สารสนเทศที่มีคุณภาพ 


         5. ขั้นตอนการปฏิบัติงาน (Procedure)
           ขั้นตอนการปฏิบัติงานที่ชัดเจนของผู้ใช้หรือของบุคลากรที่เกี่ยวข้องก็เป็นเรื่องสำคัญอีกประการหนึ่ง เมื่อได้พัฒนาระบบงานแล้วจำเป็นต้องปฏิบัติงานตามลำดับขั้นตอนในขณะที่ใช้งานก็จำเป็นต้องคำนึงถึงลำดับขั้นตอนการปฏิบัติของคนและความสัมพันธ์กับเครื่อง ทั้งในกรณีปกติและกรณีฉุกเฉิน เช่น ขั้นตอนการบันทึกข้อมูล ขั้นตอนการประมวลผล ขั้นตอนปฏิบัติเมื่อเครื่องชำรุดหรือข้อมูลสูญหาย และขั้นตอนการทำสำเนาข้อมูลสำรองเพื่อความปลอดภัย เป็นต้น สิ่งเหล่านี้จะต้องมีการซักซ้อม มีการเตรียมการ และการทำเอกสารคู่มือการใช้งานที่ชัดเจน


    1.2 ชนิดของระบบสารสนเทศ
องค์กรส่วนใหญ่จะใช้ระบบสารสนเทศในการทำงาน โดยแต่ละองค์กรจะเลือกใช้ระบบบสารสนเทศที่ตอบสนองความต้องการที่แตกต่างกัน ซึ่งระบบสารสนเทศแบ่งเป็น5ชนิด ดังนี้



         1. ระบบสารสนเทศสำนักงาน (Office Information System : OIS)
หรือระบบสำนักงานอัตโนมัติเป็นระบบที่ใช้ในการผลิตสารสนเทศของสำนักงานได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยอาศัยเทคโนโลยีสารสนเทศ แลัเทคโนโลยีเครื่องใช้สำนักงาน เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ สแกนเนอร์ เครื่องพิมพ์ เครื่องถ่ายเอกสาร เครื่องโทรสาร เป็นต้น รวมถึง ซอฟต์แวร์ต่างๆ เช่น โปรแกรมประมวลคำ จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ ไปรษณีย์เสียง ระบบประชุมทางไกลผ่านดาวเทียม เป็นต้น

         2. ระบบสารสนเทศประมวลผลรายการ (Transaction Processing System : TPS)
หรือระบบประมวลผลข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Data Processing : EDP) เป็นระบบสารสนเทศที่มีการนำคอมพิวเตอร์มาใช้บันทึกข้อมูลรายการที่เกิดขึ้นประจำวันของส่วนใดส่วนหนึ่งของธุรกิจนั้นๆ ซึ่งข้อมูลรายการที่เกิดขึ้นประจำวันดังกล่าวจะเป็นข้อมูลพื้นฐานสำหรับการนำไปประมวลผลเป็นสารสนเทศสำคัญของระบบสารสนเทศอื่นๆ 

         3. ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (Management Information System : MIS)
เป็นระบบสารสนเทศที่นำข้อมูลรายการที่เกิดขึ้นประจำวันจากระบบสารสนเทศประมวลผลรายการจากแผนกต่างๆ มาสรุปเป็นรายงานสำคัญสำหรับผู้บริหาร เพื่อประโยชน์สำหรับการบริหารจัดการ ได้แก่ การควบคุมหรือตรวจสอบการดำเนินงาน การวางแผน และการตัดสินใจดำเนินงาน 

         4. ระบบสารสนเทศสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support System : DSS)
เป็นระบบสารสนเทศที่พัฒนาความสามารถเพื่อมเติมจากระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารโดยจะสนับสนุนความต้องการเฉพาะของผู้บริหารแต่ละคน ซึ่งจะให้ระบบจะใช้ตัวแบบ (model) ในการวางแผน ทำนาย และสรุปทางเลือกสำหรับการตัดสินใจได้หลายๆทาง สำหรับผู้บริหารตัดสินใจได้สะดวกรวดเร็ว โดยผู้บริหารต้องอาศัยความรู้และประสบการณ์ตัดสินใจเลือกทางเลือกที่ระบบเสนอแนะมาด้วยตนเอง

         5. ระบบสารสนเทศสนับสนุนผู้บริหาร (Executive Information System : EIS)
เป็นระบบสารสนเทศที่พัฒนาขึ้นเพื่อการสนับสนุนสารทนเทศและการตัดสินใจสำหรับผู้บริหารระดับสูง โดยระบบจะประมวลผลสารสนเทศให้ผู้บริหารมองเห็นภาพรวมการดำเนินงานของบริษัทประกอบกับผู้บริหารเป็นกลุ่มบุคคลที่มีข้อจำกัดด้วนระบบเวลาในการเข้าถึงและทำความเข้าใจกับข้อมูล ดังนั้นส่วนใหญ่สารสนเทศจะอยู่ในรูปแบบของกราฟฟิกที่ดูเข้าใจง่าย เช่น กราฟ ตาราง ภาพ สามมิติ เป็นต้น รวมทั้งการนำเสนอสารสนเทศขององค์กรโดยสรุป และสามารถเรียกดูลึกเข้าไปในรายละเอียดที่ต้องการได้ ซึ่งระบบสารสนเทศสนับสนุนผู้บริหารจำเป็นต้องใช้ข้อมูลทั้งภายในและภายนอกองค์กร 




2. เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการตัดสินใจ
    โดยระดับของการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการตัดสินใจในองค์กรมีอยู่ 3 ระดับ ดังนี้
  
    2.1 เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการตัดสินของบุคคล

       1. ระบบสารสนเทศสำนักงาน เป็นการใช้โปรแกรมสำเร็จรูปและเครื่องใช้สำนักงาน เช่น Microsoft word พิมพ์เอกสาร Microsoft power point นำเสนองาน เป็นต้น
       2. ระบบสารสนเทศประมวลผลรายการ เพื่อบันทึกข้อมูลประจำวัน เช่น ใช้ซอฟต์แวร์การขายสินค้าในการบันทึก ปรับปรุง ลบ และค้นหารายการสินค้า ซึ่งช่วยให้การทำงานสะดวกและรวดเร็วขึ้น เป็นต้น

    2.2 เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการตัดสินใจของกลุ่ม
เป็นการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่ช่วยเสริมการทำงานของกลุ่มบุคคลให้สมารถทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยมีหลักการ คือ การนำคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลมาเชื่อมโยงกันเป็นเครือข่ายระยะใกล้ หรือระยะไกล ทำให้มีการใช้ทรัพยากร ในระบบเครือข่ายร่วมกันได้

    2.3 เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการตัดสินใจขององค์กร
เป็นการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศมาเชื่อมโยงระบบวสรสนเทศของแผนกต่างๆ ในองค์กรเข้าด้วยกัน เพื่อส่งผ่านข้อมูลจากแผนกหนึ่งไปยังแผนกหนึ่ง ทั้งนี้เนื่องจากการบริหารงานของผู้บริหารระดับสูงจำเป็นต้องใช้ข้อมูลร่วมกันจากหลายแผนกเพื่อประกอบการตัดสินใจ 
หลักการ คือ การนำเครื่องคอมพิวเตอร์ของแผนกต่างๆ มาเชื่อมโยงกันเป็นเครือข่ายเพื่อให้เกิดการใช้ข้อมูลร่วมกัน เช่น แผนกการตลาด แผนกการผลิต แผนกจัดซื้อ แผนกบุคคล แผนกการเงินและบัญชีเป็นต้น



สรุป 
ระบบสารสนเทศเข้ามามีบทบาทในการดำรงชีวิตของมนุษย์มากขึ้น องค์กรต่างๆใช้ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ ประมวลผลข้อมูล รวมถึงการดูแลรักษาข้อมูล เพื่อให้ได้สารสนเทศที่ถูกต้องและทันต่อความต้องการของผู้ใช้ และผู้ใช้สามารถนำสารสนเทศที่ได้ไปประกอบการตัดสินใจได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งแต่ละองค์กรจะเลือกใช้ระบบสารสนเทศใดนั้นจะต้องคำนึงถึงความต้องการใช้งาน ความเหมาะสมกับธุรกิจ รวมถึงต้นทุนในการพัฒนาระบบสารสนเทศ



           หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ม.5




วันจันทร์ที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2556

มารู้จักผู้เขียนกันเถอะ







About me 
ชื่อ สุดามาศ  ตระการไทย  
ชื่อเล่น  พลอย
อายุ 16 ปี
เกิดวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2540
งานอดิเรก  วาดรูป ฟังเพลง และเล่นอินเตอร์เน็ต และส่วนมากจะเล่นแต่ twitter
นิสัย เป็นคนที่ชอบเกาหลี ชอบศิลปินไอดอลเกาหลี และชอบฟังเพลงเกาหลี 
เพราะสิ่งๆนี้เป็นสิ่งที่พลอยอยู่ด้วยแล้วมีความสุขมากที่สุด 
เป็นคนมีโลกส่วนตัวสูง ถ้าได้อยู่ในโลกส่วนตัวของตัวเองแล้ว สิ่งภายนอกจะไม่มีความสำคัญเลย เป็นคนรักความยุติธรรม ชอบคิดชอบฝันชอบจินตนาการ เป็นคนรักครอบครัวและรักเพื่อนมาก
สีที่ชอบ สีชมพู ม่วง แดง เทา ฟ้า
ยินดีที่ได้รู้จักทุกคนนะคะ ^__^